วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

สาเหตุการเปลี่ยนแปลง


สาเหตุการเปลี่ยนแปลง 
     1. ความต้องการปรุงแต่งวัฒนธรรม สังคมของตนให้เจริญงอกงามขึ้น มีการคิดค้นวัฒนธรรมใหม่ ดัดแปลง
ให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เช่น การแต่งกาย
การแต่งการยุคสมัยเก่า
การกายยุคสมัยใหม่
ภาพแสดงถึงการแต่งการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
      2. การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ เช่นสภาพดินฟ้าอากาศ ความแห้งแล้ง น้ำท่วม อากาศร้อนจัด หนาวจัด
การเสื่อมสภาพของดิน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้มนุษย์คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพื่อควบคุมการเปลี่ยน
แปลงไป เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วมแต่เป็นการทำลายป่าไม้และสัตว์ป่า
การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ
    การดัดแปลงธรรมชาติ เช่น ตู้เย็น แอร์คอนดิชั่น ปล่อยสาร CFC ทำให้โลกร้อนเกิดสภาวะเรือกระจก ทำให้
โลกเปลี่ยนแปลงไป สภาพสังคมวัฒนธรรมก็เปลี่ยนแปลงไป
              3. การเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของมนุษย์ โดยมนุษย์มีเชาว์ปัญญาสูง ทำให้เกิดการนึกคิดนำไปสู่
การเปลี่ยนแปลง มนุษย์จำเป็นต้องแสวงหาสิ่งตอบแทนสนองความต้องการของงานที่เพิ่มขึ้น
             การคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ และวิธีการใหม่ ๆ เป็นผลทำให้วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสื่อสาร ทำให้เด็กไทยปัจจุบันเขียนหนังสือไม่ถูก
ลายมือไม่สวย เพราะได้รับอิทธิพลมาจากหนังสือการ์ตูน ตัวอักษรไทยผิดเพี้ยนไป
รักความสบายมากขึ้น เด็กปัจจุบันใช้โทรศัพท์ นานมมาก มีปัญหาต่อการได้ยิน
มีปัญหา ต่อทางสมอง
               4. การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น ประชากรมีจำนวนมากขึ้น ทำให้มีการแข่งขันกันสูง เกิดความ
ขัดแย้ง (Class Conflict) เพิ่มมากขึ้น อันเป็นปัญหาที่มนุษย์ต้องหาวิธีการสร้างระเบียบ เพื่อแก้ไขความ
ยุ่งยากดังกล่าว ดังนั้น วัฒนธรรมของมนุษย์ย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย
      เมื่อเกิดความขัดแย้งทางความคิด ตามหลักประชาธิปไตยคนในสังคมมีสิทธิชุมนุม แต่ต้องโดยสงบ
แต่ถ้าเกิดความวุ่นวายก็ต้องออกกฎหมายเพื่อควบคุมให้เกิดความสงบซึ่งสังคมในอดีตมักใช้สันติวิธีการ
ประนีประนอม แตกต่างจากปัจจุบัน
      5. การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมอื่น ซึ่งเกิดจากความเจริญในด้านการสื่อสารการคมนาคมติดต่อ
ถึงกันเป็นอย่างสะดวกรวดเร็วการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมอื่นจึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง
ภาพแฟชั่นการแต่งกาย
    จะเห็นได้ว่าปัจจุบัน แฟชั่น การแต่งกาย เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก เพราะความเจริญก้าวหน้า ของการ
สื่อสารนั่นเอง
       6. การพัฒนาการความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติความเชื่อแบบเดิม
หันไปนิยมแบบใหม่ เพื่อต้องการให้เป็นผู้ที่เรียกว่า ทันสมัยไม่ล้าหลัง มีการปรับปรุงแนวคิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ
       7. วัฒนธรรมอาจเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากความประสงค์ของผู้มีอำนาจ เช่น คำพูดที่ว่า "เชื่อผู้นำ"
ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายยกรัฐมนตรีของไทย ปี พ.ศ. 2481 - 2487
       วัฒนธรรมสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีอำนาจในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป. พิบูลสงคราม
มีอำนาจในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ห้ามคนไทยกินหมาย ห้ามหญิงนุ่งโจงกระเบน และชายหญิงออกจากบ้านต้องสวมหมวกจึงมีเพลงเชิญชวนเกิดขึ้นโดยกรมโฆษณาการ(กรมประชาสัมพันธ์) เพื่อให้ทัดเทียมชาติตะวันตก
     8. การมองเห็นประโยชน์และความจำเป็นของสิ่งนั้น ๆ ทำให้รับเอาวัฒนธรรมนั้น ๆ มาใช้ในการดำเนินชีวิต
     เมื่อประชาชนมากขึ้น มีความจำเป็นต้องอาศัยการผลิตแบบอุตสาหกรรม การใช้เครื่องจักรช่วยในการผลิต
ตามระบบโรงงาน(Factory System)
     จากสาเหตุดังกล่าวทั้ง 8 ข้อ จะเห็นว่าวัฒนธรรมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาสถาพสังคม เศรษฐกิจ
การเมือง การศึกษา เทคโนโลยีใหม่ ๆ การเพิ่มของประชากร ฯลฯ มีส่วนทำให้สภาพแวดล้อม สภาพจิตใจ
ความเชื่อ ทัศนคติเปลี่ยนแปลงไป วัฒนธรรมจึงต้องเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเพื่อสอดคล้องตามไปด้วย
     ในการวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัย คือ
      1. ปัจจัยภายนอก
         1.1 การหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก หรือวัฒนธรรมสมัยใหม่ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เรียบง่าย
ไม่สลับซับซ้อน ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา
         1.2 การเปรียบเทียบวัฒนธรรมตะวันตกที่ไม่ซับซ้อน กับวัฒนธรรมดังเดิมของท้องถิ่น ซึ่งสลับซับซ้อน ลึกซึ้ง เข้าใจได้ยาก ส่งผลให้ละเลยและหลงลืมวัฒนธรรมดั้งเดดิม เด็กยุคใหม่หลงลืมวัฒนธรรมมารยาทไทย
ซึ่งเป็นสิ่งดีงามไป แต่กลับไปเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตก
         1.3 ความเจริญทางเทคโนโลยีที่เข้ามา เช่นการพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ นับเป็นสื่ออันสำคัญที่ทำให้ชุมชน
ได้รับข่าวสารเรื่องราวต่าง ๆ เกิดการเรียนรู้ ยอมรับและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมุ่งความทันสมัย ไม่คำนึงถึงรากฐานวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิม
       2. ปัจจัยภายใน
          2.1 ความเจริญทางด้านสังคมและชุมชน จังหวัดได้มีการวางแผนโครงการด้านต่าง ๆ ทำให้ท้องถิ่นเกิด
ความเจริญ มีความสะดวกสบายในด้านต่าง ๆ
          2.2 เมื่อสังคมและชุมชนมีการขยายตัวอย่างขวางขวางผู้คนหันไปสนใจเศรษฐกิจมากขึ้น เกิดการแข่งขัน
ทำให้เกิดการหลงลืมกิจกรรมด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น
         2.3 ความไม่เข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นดังเดิม ไม่ได้ศึกษา ทำให้ยากต่อการปฏิบัติและขาดความกล้าในการปฏิบัติตามวัฒนธรรม รวมถึงการแต่งกาย ภาษาพูด ขนบธรรม
เนียมประเพณี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น